Diary No. 13 วิชา : การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Subject : Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
Instructor : krittrin Tumat
Wednesday, April 21 , 2559
Time 08.30 - 13.30 .
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
1. วางแผนล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กได้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย
2. นำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมประจำวันให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
3. การเขียนแผนต้องดูประสบการณ์สำคัญในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยแล้วนำมาใส่ตรงตามเรื่องที่สอนให้ครบทั้ง 4 ด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และ สติปัญญา
ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
เขียนแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะ และทดลองออกมาสาธิตวิธีสอนทีละกลุ่ม
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhrfjsiEimAKqfajHu5riAplkdY2LX5fn75G0ohcTY0fR0MsXGLNb84KVteVGuW73EC5cS2sNSyp8iFDaEkj794kBu4sHdFUbA7x4dIXl6UmLcaNGljqmo1TvcxD1HINOo77Ci-qMC81XQ/s1600/13162311_1912006279025712_1607833561_n.jpg)
วิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
1. เลือกจากความสนใจของเด็กส่วนใหญ่ หัวข้อของเรื่องนั้นต้องไม่กว้างจนเกินไป เพราะจะยากในการกำหนดเนื้อหา ที่เด็กต้องเรียนรู้ในหัวข้อนั้นๆ
2. จัดเรียงระบบความคิดรวบยอดให้ออกมาในรูปผังความคิด
3. ศึกษาจาก 6 กิจกรรมหลัก
4. คำนึงถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของเด็กปฐมวัยในแต่ละขั้นอย่างละเอียดว่า เด็กแต่ละช่วงวัยสามารถทำอะไรได้บ้าง เด็กจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างองค์รวม คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
5. รูปแบบของการจัดประสบการณ์อย่างมีระบบ เรียงลำดับความยากง่ายของกิจกรรมนั้นๆ มีการสังเกตจดบันทึกในการจัดทำทุกครั้ง เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการประเมินศักยภาพของเด็กแต่ละบุคคล
จุดประสงค์ของการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เพื่อผู้สอน
1. วางแผนล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กได้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย
3. การเขียนแผนต้องดูประสบการณ์สำคัญในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยแล้วนำมาใส่ตรงตามเรื่องที่สอนให้ครบทั้ง 4 ด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และ สติปัญญา
ขั้นที่ 1 เลือกเรื่อง
- สังเกตจากความสนใจความต้องการของเด็กตามสภาพจริง
- เรื่องต้องชัดเจนไม่กว้างเกินไปเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆ
- ไม่ควรเลือก สัตว์ คมนาคม
ขั้นที่ 2 ระดมความคิด
- สิ่งที่เด็กรู้แล้ว
- สิ่งที่เด็กต้องการรู้
- สิ่งที่เด็กควรรู้
ขั้นที่ 3 คิดกิจกรรม
- เคลื่อนไหว
- ศิลปะ (กิจกรรมสร้างสรรค์)
- กิจกรรมเสรี (การเล่นตามมุม)
- เสริมประสบการณ์ - กิจกรรมเล่นกลางแจ้ง
ขั้นที่ 4 จัดกิจกรรมตามพัฒนาการ
ขั้นที่ 5 จัดทำแผนการจัดประสบการณ์
การประเมิน
-ประเมินทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ
- การประมาณต้องสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของการศึกษาปฐมวัย
- ประเมินตรงไปตรงมาตามสภาพจริง
- นำผลที่ได้จากการประเมินไปสู่การแปรผล หาข้อสรุป อย่างเป็นระบบสมเหตุสมผล
- มีความเที่ยงตรงเป็นธรรมคำนึงถึงหลักความเป็นจริงของเด็ก
กลุ่มของเพื่อนๆ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgcwWg6av7hQRG2FHSOC8ptwkKsnjATmnT4JyTAAVCDYZe-LwlsqwmyDgefINLHsLeeO0uAqpKrlse1scqF1bxm638OvSxL2bLwkd7E5K5N3qQDwUkZymjC98mF2lcGiZfZOnKg5WJfP30/s320/13140744_1912006765692330_1400532151_n.jpg)
กลุ่มของดิฉันสอนเรื่อง วัสดุเหลือใช้น่ารู้
กลุ่มของเพื่อนๆ
Assessment.
Classroom Atmosphere. (บรรยากาศในห้องเรียน)
- อากาศเย็นสบาย เรียนตึกใหม่ แสงสว่างเพียงพอ สื่อต่างๆครบครัน
Technical Education. (เทคนิคการสอน)
- มีการเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ให้กับนักศึกษา
- อาจารย์พูดด้วยน้ำเสียงโทนทุ้ม น่าฟัง เป็นเทคนิคการ เร้าความสนใจของผู้เรียน
- มีการกระตุ้นผู้เรียนให้มาเรียนไว ด้วยการแจกดาวเด็กดี ใครมาสายได้ปั้มเสือสีแดง
Self-Assessment. (ประเมินตนเอง)
- แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มาตรงเวลา
Friend-Assessment. (ประเมินเพื่อน)
- เพื่อนตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมในคาบ
Teacher-Assessment. (ประเมินอาจารย์)
- คอยชี้แนะเวลานักศึกษากำลังสาธิตเวลาทำกิจกรรม สาธิตการสอน
- ถ้านักศึกษาทำผิด อาจารย์จะไม่ว่าหรือดุ แต่จะเป็นการบอก การยกตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นภาพได้เอง
- แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ดูดี
- เข้าสอนตรงเวลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น